บทความ

HS Code คืออะไร ?

HS Code คืออะไร ?

HS Code ( Harmonized System Code ) เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้เพื่ออธิบายประเภทและชนิดของสินค้าที่จะจัดส่งไปต่างประเทศ เนื่องจากสินค้าทุกชิ้นที่ข้ามหรือเข้าสู่พรมแดนระหว่างประเทศจะต้องประกาศแจ้งต่อศุลกากรเสมอ HS Code มีหน้าที่เพื่อระบุและสร้างมาตรฐานของสินค้าในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยไม่คำนึงถึงท่าเรือหรือท่าอากาศยานปลายทาง ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สิงคโปร์ หรือประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

ระบบฮาร์โมไนซ์ถูกพัฒนาโดย World Customs Organization (WCO) หรือที่เรียกว่าองค์กรศุลกากรโลกโดยแบ่งออกเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย ตามรูปด้านล่างนี้

4 ตัวแรก ( ส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 ในรูป )

2 ตัวแรกเป็นลำดับของ “ตอน”

2 ตัวหลังเป็นลำดับของ “ประเภท” ที่อยู่ใน “ตอน” นั้น

ยกตัวอย่างเช่น กระเบื้องปูพื้นที่มี HS Code เป็น 4016 จะหมายความว่า

ตอน = ยางและของทำด้วยยาง
ประเภท = ของอื่น ๆ ทำด้วยยางวัลแคไนซ์นอกจากยางแข็ง

4 ตัวถัดมา ( ส่วนที่ 3 และ สองตัวแรกของส่วนที่ 4 ในรูป )

2 ตัวแรกเป็นเลข 2 ตัวที่เหลือจากเลขชุด 6 ตัวของ HS Code พิกัดศุลกากร

2 ตัวหลังเป็นประเภทย่อยของระบบพิกัด

2 ตัวสุดท้าย ( สองตัวสุดท้ายของส่วนที่ 4 ในรูป )

คือ เลขรหัสสถิติ (Statistics code) ซึ่งเป็นรหัสสินค้า (Code for goods) และรหัสหน่วยสินค้า (Unit of goods) โดยตัวเลข 2 หลักสุดท้าย จะเป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ ทำให้รวมแล้วมี 10 ตัว

สำหรับลูกค้าของ Karton Express ที่ต้องการส่งของไปต่างประเทศ และกำลังกังวลว่าจะไม่สามารถกำหนดพิกัดสินค้าได้อย่างถูกต้องนั้น ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เนื่องจากเมื่อลูกค้าทำการสร้าง Shipment เพื่อส่งออก ระบบของ Karton Express จะช่วยกำหนดพิกัดศุลกากรให้ลูกค้าแบบอัตโนมัติ พร้อมทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ช่วยยืนยันพิกัดให้อีกครั้งก่อนสินค้าจะถูกส่งออกจากคลังสินค้าไปยังสนามบินหรือท่าเรือ

อยากลองหาพิกัดสินค้าด้วยตนเอง ?

ลูกค้าสามารถทดสอบหาพิกัดสินค้าด้วยตนเองได้ ที่นี่

ติดตามข่าวสารใหม่ๆ จาก Karton

Subscribe for our daily News

พื้นที่โฆษณาฟรี

สำหรับพาร์ทเนอร์

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ผู้ส่งออกสินค้าบางประเภทจำเป็นต้องทำการรมยา ( Fumigate ) ก่อนการส่งออกสินค้า ... อ่านต่อ
Admin Karton

3 years ago

ในหลาย ๆ ครั้งลูกค้าของเราเรียก กรมศุลฯ เป็น กงสุล ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดและสื่อสารกันคลาดเคลื่อน ... อ่านต่อ
Admin Karton

3 years ago

ในหลาย ๆ ครั้งลูกค้าของเราเรียก กรมศุลฯ เป็น กงสุล ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดและสื่อสารกันคลาดเคลื่อน ... อ่านต่อ
Admin Karton

3 years ago