บทความ

Cross Border E-Commerce น่านน้ำใหม่และใหญ่ ที่ไม่ใช่แค่ทางเลือก..แต่คือทางรอด

Cross Border E-Commerce น่านน้ำใหม่และใหญ่ ที่ไม่ใช่แค่ทางเลือก..แต่คือทางรอด

Cross Border E-Commerce (CBEC) หรือชื่อภาษาไทยก็คือ การค้าข้ามพรมแดน ซึ่งเป็นรูปแบบการทำธุรกิจที่มีการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ระหว่างประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง ด้วยการส่งของไปต่างประเทศ  และมีการใช้ระบบ Logistics ระหว่างประเทศมาบริหารจัดการให้สินค้าถึงปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย หรือหากพูดให้ SMEs ในไทยเห็นภาพได้ชัดขึ้น ก็คือ การที่ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ของตนเอง, Marketplace หรือช่องทางอื่นๆ ให้แก่ลูกค้าที่อยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีการทำการตลาดออนไลน์เพื่อสร้างการรับรู้และสร้างยอดขายให้แก่สินค้าหรือแบรนด์ของคุณ ซึ่งอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมากก็คือการจัดส่งสินค้านั้นให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยราคาและรูปแบบของการขนส่งที่เหมาะสม เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

ทำไม CBEC จึงเป็นน่านน้ำใหม่ ? และขนาดใหญ่จริงมั้ย ?

ถึงแม้ว่า CBEC จะไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ในเทรนด์โลก แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ายังเป็นรูปแบบการค้าที่ยังสดใหม่สำหรับเหล่า SMEs ซึ่งมีมากกว่า 3 ล้านรายทั่วประเทศไทย เพราะผู้ประกอบการในไทยยังมุ่งเน้นทำตลาดในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากมีความซับซ้อนที่น้อยกว่าและตลาด E-Commerce ในประเทศเพิ่งจะเติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี่เอง ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายพากันตบเท้าเข้าสู่โลกออนไลน์กันถ้วนหน้า ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดีทั้งต่อผู้บริโภคและตัวผู้ประกอบการเอง โดยเฉพาะ SMEs ที่นอกเหนือจากการหารายได้จากช่องทางออนไลน์แล้ว ก็ยังสามารถนำประสบการณ์ไปต่อยอดเพื่อออกสู่ตลาดโลกได้ในอนาคต

แต่อย่างไรก็ตามการค้าข้ามพรมแดนนั้นก็ยังใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทย โดยข้อมูลจากทาง EXIM BANK ระบุว่ามี SMEs ไทยที่เป็นผู้ส่งออกเพียง 2.4 หมื่นรายเท่านั้น หรือไม่ถึง 1% ของ SMEs ทั้งระบบ หากเทียบกับประเทศอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น 20% แคนาดา 12% เวียดนาม 8% เป็นต้น นอกจากนี้ ก็มี SMEs ไทยบางส่วนที่เป็นผู้ส่งออกทางอ้อมอยู่แล้ว โดยส่งออกผ่านตัวกลางอีกที แต่ก็ยังมีจำนวนน้อย ดังนั้นการแข่งขันจึงกระจุกตัวอยู่ภายในประเทศ ซึ่งเป็นน่านน้ำเดิมที่มีผู้ซื้อหน้าเดิม จำนวนเท่าเดิม อันเป็นผลมาจากอัตราเกิดใหม่ที่ต่ำ และการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้วยนั่นเอง

และการที่คุณตัดสินใจพาแบรนด์หรือสินค้าของคุณ Go Inter หรือ Go Global นั่นจึงหมายถึงคุณกำลังกล้าที่จะออกจาก comfort zone เพื่อลงเล่นในตลาดที่ใหญ่มากและเต็มไปด้วยผู้ซื้อหน้าใหม่ ๆ ที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งถามว่าใหญ่ขนาดไหน คงต้องเทียบกับประชากรไทยที่มีเพียง 70 ล้านคน แต่ประชากรของประเทศสหรัฐอเมริกามีมากกว่า 300 ล้านคน หรือ หากนำประชากรของประเทศจีนและอินเดียมารวมกัน ก็มีจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของโลกแล้ว

ดังนั้น Cross Border E-Commerce จึงไม่ใช่เพียงทางเลือกอีกต่อไป แต่จะเป็นทางรอดสำหรับ SMEs ไทย เพราะไม่เพียงแต่จะสร้างการเติบโตได้มากขึ้น เร็วขึ้น แต่ยังมีโอกาสทางธุรกิจซ่อนอยู่อีกมากในน่านน้ำสีครามเหล่านั้น ซึ่งรอให้บรรดาผู้ประกอบการไทยออกไปแหวกว่ายร่วมกัน อีกทั้งการมีแหล่งที่มาหรือช่องทางในการสร้างรายได้ที่หลากหลาย มีตะกร้าหลายใบ จะช่วยเสริมความมั่นคงและสร้างภูมิต้านทานให้แก่ธุรกิจของคุณในยามที่เจอวิกฤติได้เป็นอย่างดี

ติดตามข่าวสารใหม่ๆ จาก Karton

Subscribe for our daily News

พื้นที่โฆษณาฟรี

สำหรับพาร์ทเนอร์

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ต้องใช้ช้คำว่า “ต้องบุก” เนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยมีการชะลอตัว รวมถึงอัตราการเกิดของประชากรไทยที่ต่ำมาก จึงทำให้กำลังซื้อและขนาดตลาดไม่ได้ใหญ่ขึ้นเลย ... อ่านต่อ
Admin Karton

3 years ago

ต้องใช้ช้คำว่า “ต้องบุก” เนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยมีการชะลอตัว รวมถึงอัตราการเกิดของประชากรไทยที่ต่ำมาก จึงทำให้กำลังซื้อและขนาดตลาดไม่ได้ใหญ่ขึ้นเลย ... อ่านต่อ
Admin Karton

3 years ago

ต้องใช้ช้คำว่า “ต้องบุก” เนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยมีการชะลอตัว รวมถึงอัตราการเกิดของประชากรไทยที่ต่ำมาก จึงทำให้กำลังซื้อและขนาดตลาดไม่ได้ใหญ่ขึ้นเลย ... อ่านต่อ
Admin Karton

3 years ago